ข่าวแรงงานบ่นทำงานหนัก-เงินน้อย วอนรัฐจัดงบตั้งกองทุน - kachon.com

แรงงานบ่นทำงานหนัก-เงินน้อย วอนรัฐจัดงบตั้งกองทุน
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 10 พ.ค.สมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง "คนงานได้อะไร จากวันความปลอดภัยแห่งชาติ" เนื่องในวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ พร้อมลำลึกถึงเหตุการณ์โศกนาฏกรรมเพลิงไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ที่จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2536 ซึ่งทำให้มีลูกจ้างเสียชีวิต 188 ราย และบาดเจ็บ 469 ราย ซึ่งวงเสาวนาได้มีการสะท้อนว่าจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เครือข่ายแรงงานภาคต่างได้มีการเรียกร้องสิทธิเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยจากการทำงาน ซึ่งมีเรื่องที่สามารถทำได้สำเร็จบางเรื่องยังไม่สำเร็จ เพราะยังพบว่ามีแรงงานเจ็บป่วยจากการทำงานอยู่เสมอ ยกตัวอย่างการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารเคมีเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยากว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่อย่างไร เพราะสารเคมีเหล่านี้ต่างไปสะสมในร่างกายกว่าจะเห็นผลกระทบก็ใช้เวลาหลายปี นอกจากนี้ยังได้รับค่าแรงถูก เวลาการทำงานมาก เป็นต้น

ดังนั้นทางเครือข่ายจึงมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้ 1.ขอให้ผู้เจ็บป่วยหรือผู้เจ็บป่วยจากการทำงานสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษา 2. การประเมินการสูญเสียสิ้นสุดการรักษาต้องให้คนงานรักษาจนถึงที่สุดจนหายดีและเงินประเมินต้องทดแทนให้คนงานอยู่ได้อย่างไม่ลำบาก 3.ขอให้คณะกรรมการสมานฉันท์เข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการแพทย์ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน คณะกรรมการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย 4.ขอให้รัฐจัดสรรงบประมาณสนับสนุนเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ความรู้เรื่องความปลอดภัย เช่นวันแรงงาน 5.ขอให้รัฐยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกรูปแบบ เพราะถึงจะประกาศ ลดความเข้มข้นในชั้นบรรยากาศเป็น 0.1 เส้นใยต่อ 1ลูกบาศก์เซนติเมตรแล้วก็ตาม แต่ระบบตรวจสอบก็ยังไม่สามารถรองรับได้จริง 6.ขอให้รัฐจัดสรรงบฯ ให้สถาบันส่งเสริมให้เพียงพอต่อการทำงาน 7.ขอให้รัฐเพิ่มการตรวจสุขภาพประจำปี แบบอาชีวเวชศาสตร์ทุกคนและต้องส่งสมุดพกประจำตัวการตรวจสุขภาพให้ลูกจ้างทุกคน

8.ขอให้รัฐตรวจสอบสถานประกอบการให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยทุกแห่ง 9.ขอให้คลินิกโรคจากการทำงาน เร่งวินิจฉัยโรคจากการทำงาน ทุกพื้นที่อุตสาหกรรม และยกระดับคลินิกให้มีมาตรฐานเดียวกัน และสนับสนุนให้วินิจฉัยโรคมะเร็งจากแร่ใยหิน สนับสนุนงบฯ และประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ 10.ขอให้มีแพทย์ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมประจำทุกรพ. และขอให้มี รพ.ในประกันสังคมจัดตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับแรงงาน 11.ทบทวนยกเลิก นโยบายซีโร่เอ๊กซิเด้นท์ Zero accident หากคนงานมีผลกระทบมากให้ยกเลิก 12.การบริการเรื่องความปลอดภัยให้ครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วน เช่นภาคเกษตรและภาคบริการ 13.การจัดตั้งกองทุนพิทักษ์สิทธิแรงงาน เพื่อสนับสนุนแรงงานในการต่อสู้คดี หรือกองทุนเพื่อสุขภาพความปลอดภัยของชุมชนภาคเกษตร 14. การเข้าถึงระบบสาธารณสุข การแพทย์ทางเลือก15. การตั้งกองทุนเพื่อสุขภาพความปลอดภัยของภาคเกษตรภาคบริการ และ 16.รัฐต้องมีมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อน.