ผอ.ศูนย์บริการโลหิตฯย้ำการรับบริจาคเลือดมีมาตรฐาน
การเมือง
นาวาโทหญิงแพทย์หญิงอุบลวัณณ์ กล่าวต่อว่า เมื่อสัมภาษณ์เสร็จก็จะดูประวัติเดิมว่าอนุญาตให้บริจาคโลหิตในวันนั้นได้หรือไม่ หากผ่านแล้วก็เข้าสู่กระบวนการเจาะเลือดและตรวจเลือดซึ่งมี 2 วิธี คือ 1. ซีโรโลยี่ ด้วยน้ำยาที่มีความไวสูงสุด ซึ่งหากมีการติดเชื้อภูมิในร่างกายก็จะเกิดขึ้น ทำให้สามารถหาร่องรอยต่อได้ว่ามีการติดเชื้อ และ 2. ตรวจด้วยวิธี Nucleic acid amplification test (NAT) ซึ่งจะเป็นการตรวจดูว่ามีสารพันธุ์กรรม ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ หลงเหลืออยู่ในกระแสเลือดมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้สำหรับผลการตรวจจะมีการบันทึกและส่งข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ไปยังจุดคัดโลหิตออก หากโลหิตติดเชื้อก็จะถูกคัดออก ส่วนโลหิตที่ดีก็จะมีการปริ๊นฉลากผ่านระบบคอมพิวเตอร์เข้าระบบพร้อมจ่าย ดังนั้นก็อยากจะให้ประชาชนมั่นใจในระบบการรับบริจาคเลือดของเรา
“แต่ที่เราบอกว่าในทางการแพทย์ไม่มีอะไร 100 เปอร์เซ็นต์นั้นหมายความว่าช่วงที่คุณ ติดเชื้อมาใหม่ๆ เช่น มีเพศสัมพันธ์เมื่อวานแล้ววันนี้ก็มาบริจาคเลือด เชื้อที่มีในตัวยังน้อยจึงตรวจหาไม่เจอ เพราะการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จะสามารถตรวจเจอได้นั้นต้องมีปริมาณน้อยที่สุดแค่ไหน ถ้าน้อยมากๆ ก็หาไม่เจอ จริงๆ ซึ่งเราหากทราบความเสี่ยงนี้เช่นไปมีเพศสัมพันธ์มาเมื่อวาน เราก็ไม่รับการบริจาคเลือดจากบุคคลนั้นเลย แต่การตอบแบบสอบถามนี้ เป็นลักษณะขอความร่วมมือ ไม่ได้บังคับ เพราะฉะนั้นผู้ตรวจต้องตอบตามความเป็นจริง แต่หากตอบบ่ายเบี่ยง หรือใช้การบริจาคเลือดเพื่อต้องการตรวจหาว่าตัวเองติดเชื้ออะไรมากหรือไม่ ตรงนี้ก็เป็นความเสี่ยง เพราะฉะนั้นหากผู้บริจาคตอบตามจริง และคัดกรองตัวเองออกตั้งแต่แรกก็จบ” ผอ.ศูนย์บริการโลหิตฯ กล่าว.
ชอบคุณภาพจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย