ชี้โอกาสติดเชื้อHIVจากการรับบริจาคเลือด1ต่อ1.6ล้านคน
การเมือง

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กระบวนการรับบริจาคเลือดจะมีการคัดกรองอย่างเข้มข้นอยู่แล้ว ทั้งการตอบแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ตรวจด้วยเทคโนโลยีเครื่องตรวจ และน้ำยาที่มีความไวสูง ครอบคลุมโรค สำคัญ คือ เชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และ ซิฟิลิส แต่คาดว่าสาเหตุที่เชื้อหลุดรอด จากเลือดผู้บริจาคจนไปถึงผู้รับโลหิตได้นั้น มาจากช่วงระยะฟักตัวของโรค ที่แม้แต่เทคโนโลยีก็ไม่สามารถตรวจได้ซึ่งแต่ละโรคนั้นมีระยะฟักตัวของเชื้อแตกต่างกัน โดย เชื้อเอชไอวี ใช้ระยะเวลาฟักตัวประมาณ 5-7 วัน ไวรัสตับอักเสบบี ระยะฟักตัว 24-27 วัน ไวรัสตับอักเสบซี ระยะฟักตัว 3-5 วัน ซึ่งตรงนี้ แต่ยืนยันว่ามาตรฐานการบริจาคหรือรับโลหิตของไทยเทียบเท่าสากล โอกาสได้รับเชื้อเอชไอวี มีได้แค่ 1 ต่อ 1.6 ล้านประชากรเท่านั้น แต่ก็ต้องวอนผู้บริจาคโลหิตให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ตรงไปตรงมา เพื่อการตรวจคัดกรองตั้งแต่ต้นทาง หากรู้ตัวว่าเสี่ยงและเพิ่งผ่านพ้นการมีเพศสัมพันธ์ที่สุ่มเสี่ยงก็ไม่ควรบริจาคโลหิต เว้นระยะอย่างน้อย 3 เดือน
ด้าน นพ.ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นในรพ.เอกชนนั้น เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่เกิดมานานกว่า 10 ปี แล้ว จึงไม่อาจจะลงไปตรวจสอบอะไรได้ ซึ่งจากข้อมูลต่างๆ ที่มีก็พบว่าได้ดำเนินการตามมาตรฐาน เพียงแต่การตรวจสอบต่างๆ บวกกับเทคโนโลยีในสมัยก่อนซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็มีการชี้แจงแล้ว แต่ที่ผ่านมาทางรพ.ก็ให้การดูแลผู้ป่วยรายนั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทางสบส.ได้มีการตรวจสอบ ติดตามมาตรฐานของสถานพยาบาลต่อเนื่องตลอดทุกปีอยู่ เรื่องนี้ก็ถือเป็นเคสตัวอย่างให้สถานพยาบาลต่างเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากมีกรณีที่สถานพยาบาลไม่ได้ให้การช่วยเหลือ ผู้ป่วยจะสามารถเรียกร้องการเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากการรับบริการสาธารณสุขได้หรือไม่ นพ.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ถ้าไม่พูดถึงเคสนี้ แต่หมายถึงกรณีผู้ป่วยในระบบบัตรทอง ที่เข้ารับการรักษาในรพ.ตามที่มีสิทธิแล้วได้รับความเสียหายก็สามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้ตามกฎหมายภายใน 1 ปี.