ข่าวตือนเฝ้าระวังเด็กป่วย มือ เท้า ปาก หลังเปิดเทอม - kachon.com

ตือนเฝ้าระวังเด็กป่วย มือ เท้า ปาก หลังเปิดเทอม
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 16 พ.ค.พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากข้อมูลเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 13 พ.ค.62 พบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก 10,775 ราย มากที่สุดในกลุ่มอายุ 1 ปี ร้อยละ 30.33 อายุ2 ปี ร้อยละ 21.15 และอายุ 3 ปี ร้อยละ 15.21 ทั้งนี้ โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้ หรือ เอนเทอโรไวรัสหลายชนิด โดยเชื้อจะติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มพอง แผล และอุจจาระของผู้ป่วย หรือเกิดจากการไอ จามรดกัน ทุกฝ่ายจึงต้องสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนเป็นจุดเสี่ยงเกิดโรคมือ เท้า ปาก จึงขอให้ช่วยกันเฝ้าระวังโรค โดยเปิดเทอมนี้ขอให้ทุกโรงเรียนมีการคัดกรองเด็กทุกวัน หากพบเด็กมีไข้หรือมีอาการสงสัยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ให้หยุดเรียน

อธิบดีกรมอนามัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ขอให้ช่วยกันป้องกัน 1. ทำความสะอาดบ้าน โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก เน้นห้องน้ำ ห้องส้วม ของใช้ ของเล่น ภาชนะที่เด็กใช้ร่วมกัน โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของคลอรีนหรือน้ำยาทำความสะอาดที่ใช้ตามบ้านเรือน  หากเป็นของเล่นที่เด็กนำเข้าปาก ให้ล้างด้วยน้ำสบู่ และน้ำสะอาด นำไปตากแดดหรือเช็ดให้แห้ง หากมีเด็กป่วยเพิ่มให้ปิดห้องเรียนหรือโรงเรียน และทำความสะอาด 2.รักษาสุขอนามัย หมั่นล้างมือก่อนและหลังกินอาหาร และหลังขับถ่าย ด้วยน้ำและสบู่แยกของใช้เด็กไม่ให้ใช้ร่วมกัน ผู้ดูแลเด็กต้องล้างมือก่อนหยิบอาหารให้เด็กกิน และอาหารไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำต้องสะอาด ผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระต้องรีบซักให้สะอาดโดยเร็ว และทิ้งน้ำลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำ  3.สังเกตเด็กว่ามีไข้ มีจุด หรือผื่นแดงบริเวณมือ เท้า ปาก อาจมีอาการเจ็บปากน้ำลายไหล ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใสบริเวณรอบๆ อักเสบแดงและแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น ๆ อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน และ 4 หากไข้สูง หอบเหนื่อย ซึม กล้ามเนื้ออ่อนแรง หากพบเด็กมีอาการดังกล่าว ให้รีบพาพบแพทย์ทันที.