จงอ่าน!7เคสใช้น้ำมันกัญชาเอง อึ้ง!ภาวะสโตรกอัมพาตครึ่งซีก
การเมือง
รายที่ 5 เป็นเพศชาย อายุ 45 ปี เคยผ่าตัดหัวใจ ปัจจุบันยังป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หลานได้แนะนำให้ใช้น้ำมันกัญชา พอหยดไปแค่ 1 หยุดก็มีอาการเวียนหัว ตาลาย รายที่ 6 เป็นชายอายุ 65 ปี ป่วยเป็นโรคมะเร็ง นอนติดเตียง หลานได้หยอดน้ำมันกัญชาให้แต่กลายเป็นว่าปลุกไม่ตื่น ซึมมาก ต้องหามส่งรพ.และรักษาตัวอยู่ 2-3 วัน และรายที่ 7 อายุประมาณ 35-40 ปี ไม่เคยมีโรคประจำตัวมาก่อน แต่มีความเครียดเลยไปลองใช้น้ำมันกัญชาประมาณ 3-4 วัน และใช้ร่วมกับการดื่มเบียร์ 2 กระป๋อง ก็ต้องหามส่งรพ.เช่นเดียวกัน ทั้งหมดนี้เป็นเพียงผู้ที่ได้รับผลกระทบที่เข้ามาที่รพ.นพรัตน์ฯ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่จากการสอบถามไปยังแพทย์ประจำห้องฉุกเฉินของรพ.ก็พบมีรายงานเคสเยอะขึ้น
นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าในกลุ่มโรคที่เราบอกว่าน้ำมันกัญชามีประโยชน์ในการรักษาคือ การรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ป่วยที่เข้ามารักษาในรพ.วันนี้กลับมาด้วยอาการคลื่นไส้อาเจียน นั่นหมายความว่าน้ำมันกัญชาไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน โรคที่ไม่เหมือนกัน อีกทั้งยีนส์แต่ละคนไม่เหมือนกัน ทำให้มีปฏิกิริยาที่ไวต่อน้ำมันกัญชาแตกต่างกัน และจากข้อมูลเรายังพบว่าผู้ป่วยที่หาน้ำมันกัญชามาใช้ โดยซื้อจากผู้ขายเจ้าเดียว รอบแรกใช้แล้วไม่เป็นอะไร รอบหลังกลับเกิดปัญหา ตรงนี้สะท้อนว่าน้ำมันกัญชาที่ไม่มีมาตรฐาน มีคนกำลังหลอกผู้ป่วยหรือไม่ โดยเฉพาะขณะนี้มีการแชร์ข้อมูลทางโซเชียลมีเดียว่ามีกัญชาสามารถรักษาได้สารพัดโรค ซึ่งไม่จริง ประชาชนต้องดูว่าข้อมูลออกจากใคร เขามีหน้าที่อะไร
วันนี้ที่เราอนุญาตให้ใช้มีเพียง 4 กลุ่มโรคที่กัญชามีประโยชน์ในการรักษาคือ 1. ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด 2.โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา 3.ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และ 4.ภาวะปวดประสาทที่ใช้วิธีการรักษาอื่นแล้วไม่ได้ผล แต่ย้ำว่ากัญชาไม่ใช่ทางเลือกแรกในการรักษา การใช้ต้องเป็นไปตามข้อบ่งชี้ อะไรที่ไม่แน่ใจให้เก็บข้อมูลในลักษณะการวิจัยไปก่อน อย่างโรคที่กัญชาอาจจะมีประโยชน์ในการรักษา อาทิ โรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ โรควิตกกังวล โรคปลอกประสาทอักเสบ ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และโรคอื่นๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้ประโยชน์ เป็นต้น ดังนั้นขอประชาชนว่ามาพบแพทย์เพื่อตรวจว่ามีข้อบ่งชี้ในการใช้น้ำมันกัญชาเพื่อรักษาหรือไม่
นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่าสำหรับการอบรมผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์นอกจากที่เปิดอบรมไป 6 รุ่นแล้ว ตอนนี้มีแผนอบรมรุ่นพิเศษให้แพทย์และเภสัชกร ในรพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป ประมาณ 100 กว่าแห่ง ในวันที่ 17-18 มิ.ย. 250 คน และอบรมแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง 180 คนในวันที่ 30-31 ก.ค.นี้ และอบรมหลักสูตรบริหารจัดการการใช้กัญชาทางการแพทย์ให้กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและผอ.รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป
ด้าน นายอภิวัฒน์ เฟื่องฟู หัวหน้าศูนย์สารสนเทศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการสรุปข้อมูลผู้ที่มาลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ มีผู้สนใจเข้าชมเว็บไซต์ 3ช139,977 ราย แต่มีผู้ลงทะเบียนสำเร็จครบตามกระบวนการจำนวน 31,177 ราย กระจายครบทั้ง 77 จังหวัด แต่ 5 จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนมากที่สุด กรุงเทพ 8,726 ราย รองลงมาคือนนทบุรี 1,400 ราย นครราชสีมา 1,205 ราย เชียงใหม่ 1,203 ราย และปทุมธานี 1,145 ราย เมื่อจำแนกกลุ่มโรคที่มีการใช้พบว่าอันดับ 1 คือโรคมะเร็ง และอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง อันดับ 2 คือโรคไบโพลาร์ อันดับ 3 คือโรคซึมเศร้า และอันดับที่ 4 คือ โรคอัลไซเมอร์
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข กล่าวว่า ยารักษาโรคทุกตัวหากใช้ถูกก็เป็นประ หากใช้ไม่ถูกต้องก็เป็นอันตราย กัญชาก็เช่นเดียวกัน ซึ่งกัญชาจะไปเพิ่มฤทธิ์ของยานอนหลับ อาจจะทำให้ซึม ซึมเศร้า หดหู่ การใช้ต้องระวัง ต้องทราบว่าจะใช้อย่างไร ต้องไม่มีการฉวยโอกาสของกลุ่มคน.