ข่าวเปิดประวัติ'ชวน หลีกภัย' เจ้าของฉายา'มีดโกนอาบน้ำผึ้ง' - kachon.com

เปิดประวัติ'ชวน หลีกภัย' เจ้าของฉายา'มีดโกนอาบน้ำผึ้ง'
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
หลังจากเมื่อช่วงค่ำวันที่ 25 พ.ค. นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ ประชาธิปัตย์ ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนในสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ด้วยคะแนน 258 เสียง 

ประวัติของ นายชวน เคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ของประเทศไทย และเป็นประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นักการเมืองฉายา “มีดโกนอาบน้ำผึ้ง” เกิดเมื่อวันที่ 28 ก.ค.2481 ที่ ต.ท้ายพรุ (ปัจจุบันอยู่ในเขต ต.บลทับเที่ยง) อ.เมือง จ.ตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนายนิยม หลีกภัย และนางถ้วน หลีกภัย  มีชื่อเล่นที่ครอบครัวว่าเรียกว่า "เอียด" แปลว่า เล็ก เพราะเป็นคนรูปร่างเล็ก  นายชวนสมรสกับนางภักดิพร สุจริตกุล มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ นายสุรบถ หลีกภัย
 
การศึกษา และวุฒิกิตติมศักดิ์
  • ประถมศึกษา โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง
  • มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา
  • สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาลัยช่างศิลป์ ในปัจจุบัน)
  • พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ 17
  • พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
  • พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พ.ศ. 2541 นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • พ.ศ. 2542 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัย San Marcos สาธารณรัฐเปรู
  • พ.ศ. 2548 รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2552 นิติศาสตร์คุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2557 นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การทำงาน
นายชวน เริ่มต้นชีวิตการทำงานจากการเป็นทนายความ และต่อมาได้เป็นส.ส.ตรัง ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นาน 12 ปี ตั้งแต่ปี 2534-2546   ขณะเดียวกันเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการมาหลายกระทรวง ทั้ง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
 
นายชวน ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2533  และต่อมาวันที่ 23 ก.ย.2535 -19 พ.ค.2538 นายชวน ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 20 สิ้นสุดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยุบสภา  กระทั่ง วันที่ 9 พ.ย.2540 – 17 พ.ย.2543 ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 โดยรับช่วงต่อหลังจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักจนต้องลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งในการเป็นนายกฯสมัยที่ 2 นายชวนควบตำแหน่งรมว.กลาโหม 
 
ตำแหน่งทางการเมือง
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยแรก) พ.ศ. 2512
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สอง) พ.ศ. 2518
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2518
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สาม) พ.ศ. 2519
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2519
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2519
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สี่) พ.ศ. 2522
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2523
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2524
  • รัฐมนตรว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2525-2526
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่ห้า) พ.ศ. 2526
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่หก) พ.ศ. 2529
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529-2531
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เจ็ด) พ.ศ. 2531
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2531-2532
  • รองนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2532 – 26 ส.ค.2533
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2533 (ส.ค.-ธ.ค.2533)
  • หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (26 ม.ค.2534 – 4 พ.ค. 2546)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่แปด) พ.ศ. 2535 (22 มี.ค.2535)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เก้า) พ.ศ. 2535 (13 ก.ย.2535)
  • นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 (23 ก.ย.2535 – 20 ก.ค.2538)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบ) พ.ศ. 2538 (2 ก.ค.2538)
  • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 (4 ส.ค.2538)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบเอ็ด) พ.ศ. 2539 (17 พ.ย.2539)
  • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 (21 ธ.ค.2539)
  • นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2540 (9 พ.ย.2540 – 8 ก.พ.2544)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2540 (14 พ.ย.2540-18 ก.พ.2544)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบสอง) พ.ศ. 2544 (6 ม.ค.2544)
  • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 (11 มี.ค.2544)
  • ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน)
 
บทบาททางการเมืองหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายชวนได้กลับมาเป็นผู้นำฝ่ายค้านอีกครั้ง เมื่อ 14 มี.ค.พ.ศ. 2544 และต้องการ ก้าวลงจากตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหัวหน้าพรรคใน 2 ปีถัดมาเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2546 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้รับเลือก เป็นหัวหน้าพรรค ทำให้รวมแล้วนายชวนดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค 3 สมัยเป็นเวลาทั้งสิ้น 12 ปี
 
ในการเลือกตั้งครั้งถัดมาเมื่อปี พ.ศ. 2548 หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงเพียงพอ ต่อการจัดตั้งรัฐบาล แข่งกับพรรคไทยรักไทย บัญญัติ บรรทัดฐาน ลาออกจากตำแหน่งตัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชวนมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน  ปัจจุบัน นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
 
นายชวนยังมีความรู้ความรักในด้านศิลปะจากโรงเรียนเตรียมศิลปากร ในยามว่างหรือเมื่อเดินทางไปที่ต่างๆ นายชวนมักเขียนภาพลายเส้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพบุคคล  ทิวทัศน์  และยังมีความสามารถในงานประพันธ์ เช่น หนังสือรวมเรื่องสั้น “เย็นลมป่า”.