สทนช.เตรียมเปิดวอร์รูมน้ำรับมือวิกฤติน้ำหลากฤดูฝนนี้
การเมือง

โดยทาง สทนช. ได้ขอให้มีการส่งตัวแทนเจ้าหน้าที่จากแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประจำการที่ศูนย์ โดยมี นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการ สทนช. เป็นประธานศูนย์ฯ เพื่อเชื่อมต่อการทำงานของทุกหน่วยให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยอาศัยความร่วมมือบูรณาการการปฏิบัติงานจากทุกหน่วย ทั้งการเชื่อมโยงฐานข้อมูล การรวบรวมข้อมูลทั้งหมดในรูปแบบเดียวกัน การกำหนดกลไกสื่อสาร และขั้นตอนในทางปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นจากปีที่ผ่านมา และ 3.) ระดับ 3-4 (ระดับสีแดง) ซึ่งเป็นระดับสูงสุด มีสถานการณ์รุนแรงในระดับประเทศ มีผลกระทบในวงกว้าง จะยกระดับเป็นศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บัญชาการศูนย์ฯ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 โดยทุกหน่วยงานรายงานข้อมูลต่อ สทนช. ทุกๆ 3 ชั่วโมง และในพื้นที่วิกฤติรายงานทุกชั่วโมง การประชุมวันละ 3 ครั้ง เวลา 08.00 น. 14.00 น. และ 20.00 น. โดยข้อมูลดังกล่าวจะส่งต่อไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยเร่งด่วนต่อไป

“สทนช. ได้เร่งหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับหน่วยงานด้านน้ำที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยในการจัดตั้ง ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ และ ศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ เพื่อเตรียมรับมือจัดการกับทั้ง “มวลน้ำ” และ “มวลชน” ในภาวะวิกฤติ เพิ่มเติมจากศูนย์อำนวยการน้ำ ซึ่งทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์น้ำประจำวัน โดยการเริ่มปฏิบัติงานของแต่ละศูนย์ฯ จะอยู่ภายใต้เกณฑ์สถานการณ์เพื่อการจัดการออกเป็น 5 ระดับข้างต้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติในการป้องกัน เฝ้าระวัง และลดความเสียหายทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน” นายสมเกียรติ กล่าว
ขณะเดียวกัน สทนช. ยังได้บูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เพิ่มประสิทธิภาพกลไก 4 ด้าน ในการรับมือสาธารณภัยจากวิกฤติน้ำตามหลักสากลการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ได้แก่ 1.ด้านป้องกันและลดผลกระทบ การบริหารจัดการและจัดสรรน้ำตามเกณฑ์อย่างเหมาะสม ในภาวะปกติ จัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม/น้ำแล้ง ในแต่ละลุ่มน้ำ พร้อมบูรณาการข้อมูลสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และจัดทำเกณฑ์เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ณ สถานีควบคุม 2. ด้านเตรียมความพร้อม การกำหนดเขตภาวะน้ำแล้งล่วงหน้า และแผนเตรียมกรณีน้ำท่วมฉุกเฉิน ติดตาม เฝ้าระวัง วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ประเมินพื้นที่เสี่ยง และแจ้งเตือนประชาชน รวมถึงหน่วยปฏิบัติเพื่อรับมือ 3. ด้านรับมือ/เผชิญเหตุ การประกาศเขตภาวะน้ำแล้งอย่างรุนแรงและมาตรการ การผันน้ำข้ามลุ่มเพื่อบรรเทาภาวะน้ำแล้ง รวมทั้งบัญชาการและอำนวยการแก้ไขปัญหาจนกว่าวิกฤติจะผ่านพ้นไป 4. ด้านฟื้นฟูเยียวยา ชดเชยเยียวยา รวบรวมข้อมูลความเสียหาย พื้นที่วิกฤติน้ำ วางแผนการป้องกันและแก้ไขระยะยาว อย่างไรก็ตาม เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน รับทราบถึงมาตรการเตรียมการต่างๆ.